วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจโดยทั่วไป ผู้บริหารเศรษฐกิจมีเป้าหมายที่สำคัญสามประการคือ

ด้านประสิทธิภาพ คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมักจะพิจารณาจากการขยายตัวของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestio Product) ซึ่งแสดงว่าในระยะเวลา 1 ปี ประเทศผลิตสินค้าและบริการรวมแล้วเป็นมูลค่าเท่าใด ดังนั้น การที่ประเทศมี GDP ขยายตัว จึงหมายถึงว่าสังคมมีการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง มีทรัพยากรมากขึ้น ประชาชนโดยรวมมีความมั่งคั่งมากขึ้น ซึ่งการขยายตัวได้ดีแสดงว่าระบบเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ มีการจัดสรรทรัพยากรที่ดี

ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ คือ การที่ตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การไม่มี shock ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ประชาชนโดยทั่วไปย่อมไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ปรับตัวได้ยาก ในด้านเสถียรภาพนี้มักจะมองได้หลายมิติคือ การมีเสถียรภาพในระดับราคาของสินค้า หมายถึง การที่ระดับราคาของสินค้าไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ประชาชนสามารถคาดการณ์ราคาสินค้าและบริการได้ การมีเสถียรภาพของการมีงานทำ หมายถึง การที่ตำแหน่งงานมีความเพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน การมีเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง การที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ซึ่งจะมีผลต่อเสถียรภาพของราคาในประเทศ และทำให้วางแผนการทำธุรกรรมระหว่างประเทศมีความยุ่งยากมากขึ้น

ด้านความเท่าเทียมกัน โดยทั่วไปหมายถึง ความเท่าเทียมกันทางรายได้ เมื่อเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ปรากฏว่า รายได้ของคนในประเทศมีความแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงให้เห็นว่ามีคนเพียงกลุ่มน้อยได้ประโยชน์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ สถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่านี้อีก หากเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ปรากฏว่า มีคนจนมากขึ้นเรื่อยๆในช่วงก่อนวิกฤติปี 2540 ประเทศไทยมีการขยายตัวที่ดี ทั้งด้านการส่งออก การผลิต รวมทั้งมีการมีการปรับโครงสร้างการผลิต โดยมีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น สินค้าอุตสาหกรรมก็เป็นสินค้าที่มีทักษะการผลิตสูงขึ้น (ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี และวิศาล บุปผาเวส 2540 หน้า 4-6) อัตราการขยายของผลผลิตมวลรวมของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2502-พ.ศ.2516 เฉลี่ยร้อยละ 8.1 ต่อปี, ปี พ.ศ.2517-พ.ศ.2528 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก อัตราการขยายของผลผลิตมวลรวมของประเทศยังสูงถึงร้อยละ 6.3 ต่อปี และปี พ.ศ.2529-พ.ศ.2539 อัตราการขยายของผลผลิตมวลรวมของประเทศเฉลี่ยต่อปีของไทยคือ ร้อยละ 9.1 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ก่อนเหตุการณ์วิกฤติทางเศรษฐกิจประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมาโดยตลอด แม้จะลดลงบ้างในช่วงปี พ.ศ.2539 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกก็ตามนอกจากนี้เศรษฐกิจของประเทศไทยมีเสถียรภาพสูง ทั้งเสถียรภาพของระดับราคาสินค้าเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน และเสถียรภาพของการมีงานทำ อยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหา โดยที่ในปี พ.ศ.2504-พ.ศ.2513 ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 2.3 ต่อปี ช่วงปี พ.ศ.2514-พ.ศ.2523 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยคือร้อยละ 10.0 ต่อปี และในปี พ.ศ.2524-พ.ศ.2533 ประเทศไทยมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 4.4 ต่อปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น